ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

การประท้วงขับทักษิณ ชินวัตรออกจากตำแหน่ง

การประท้วงทักษิณ ชินวัตรออกจากตำแหน่ง เป็นเหตุการณ์ในประเทศไทยที่เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่กลางปี พ.ศ. 2547 ในช่วงปลายรัฐบาลทักษิณ 1 เมื่อมีการรวมตัวของกลุ่มคนในนาม กลุ่มประชาชนเพื่อชาติและราชบัลลังก์ และมีการชุมนุมปราศรัยเพื่อขับ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร เมื่อวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2547 เป็นครั้งแรก และเริ่มขยายเป็นวงกว้างขึ้นเมื่อถึงปลายปี พ.ศ. 2548 ส่วนหนึ่งจากการนำของนายสนธิ ลิ้มทองกุล ในรายการเมืองไทยรายสัปดาห์ ทางโมเดิร์นไนน์ทีวี และขยายตัวในวงกว้างไปยังบุคคลในหลายสาขาอาชีพในเวลาต่อมา

ในการรณรงค์ขับนี้ มีทั้งผู้ที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยเป็นจำนวนมาก ในกลุ่มที่แสดงความคิดเห็นสนับสนุนให้นายกรัฐมนตรีลาออกก็มีความเห็นที่แตกต่างกันเป็นหลาย ๆ กลุ่ม ในเรื่องกระบวนการและประเด็นในการขับ ส่วนในกลุ่มที่สนับสนุน ซึ่งประกอบด้วยประชาชนจำนวนไม่น้อย รวมไปถึงกลุ่มคาราวานคนจน และขบวนรถอีแต๋นเดินทางมาจากต่างจังหวัด ก็ได้รวมตัวชุมนุมเพื่อสนับสนุนให้นายทักษิณ ชินวัตรดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อไป โดยปักหลักอยู่ที่สวนจตุจักร และตามจังหวัดต่าง ๆ ของประเทศไทย

ผลจากการเลือกตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2549 ที่อดีตพรรคฝ่ายค้าน 3 พรรค ได้แก่ พรรคประชาธิปัตย์ พรรคมหาชนและพรรคชาติไทยไม่ได้ร่วมลงสมัครรับเลือกตั้งด้วย ปรากฏว่าพรรคไทยรักไทย ซึ่ง พ.ต.ท. ทักษิณ เป็นหัวหน้าพรรค ยังคงได้รับคะแนนเสียงข้างมาก (56.45% ในผลการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ[ต้องการอ้างอิง]) แต่ในบางพื้นที่ของเขตซึ่งไม่มีผู้สมัครอื่นลงแข่งนั้น ผู้สมัครจากพรรคไทยรักไทยได้คะแนนน้อยกว่าผู้ไม่ออกเสียงและบัตรเสีย แต่ในท้ายที่สุดการเลือกตั้งครั้งนี้ก็ถูกศาลรัฐธรรมนูญพิพากษาให้เป็นโมฆะ และได้มีพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2549

ในวันเสาร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2549 ได้มีกลุ่มเครือข่ายแพทย์ เภสัชกร พยาบาล และอาจารย์มหาวิทยาลัย 43 องค์กร 11 มหาวิทยาลัย ล่าชื่อกว่า 92 คน ปลุกกระแส "ต้านทักษิณ" และออกแถลงการณ์ให้ พ.ต.ท. ทักษิณ ยุติบทบาทจากการดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีทันที ซึ่งในการเสวนาโต๊ะกลมเรื่องการร่วมกันแก้ไขวิกฤตปัญหาของบ้านเมือง ที่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นการรวมตัวกันครั้งใหญ่ครั้งหนึ่งของแกนนำเครือข่ายการต่อต้าน

การประท้วงขับไล่ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร สิ้นสุดลง ในวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 หลังจากการก่อรัฐประหารโดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข นำโดย พล.อ. สนธิ บุญยรัตกลิน ก่อนวันที่จะมีการชุมนุมอย่างยืดเยื้อของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และเครือข่ายในวันที่ 20 กันยายน ขณะที่พ.ต.ท. ทักษิณชินวัตร กำลังเข้าร่วมการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก

เมื่อกลางปี พ.ศ. 2547 มีการรวมตัวของ กลุ่มประชาชนเพื่อชาติและราชบัลลังก์ โดยมีแกนนำประกอบด้วย นาวาอากาศตรีประสงค์ สุ่นศิริ นายเอกยุทธ อัญชันบุตร นายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ ดร.อัมรินทร์ คอมันตร์ พลโทเจริญศักดิ์ เที่ยงธรรม นายสมาน ศรีงาม นายประพันธ์ คูณมี นายเพียร ยงหนู ได้มีการชุมนุมปราศรัยที่ท้องสนามหลวง เมื่อวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2547 และมีการจัดรายการวิทยุ ทางคลื่นวิทยุชุมชน FM 92.25 MHz ของนายประชัย และเว็บไซต์ไทยอินไซเดอร์ของนายเอกยุทธ

การวิพากษ์วิจารณ์ผลงาน และการทุจริตในรัฐบาล พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร เริ่มขยายสู่วงกว้างขึ้น ตั้งแต่กลางปี พ.ศ. 2548 เมื่อรายการเมืองไทยรายสัปดาห์ ออกอากาศทางโมเดิร์นไนน์ทีวี โดยนายสนธิ ลิ้มทองกุล เริ่มวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล ทั้งที่ก่อนหน้านี้เคยเสนอความเห็นในเชิงสนับสนุนรัฐบาลมาตลอด จุดเปลี่ยนของรายการเมืองไทยรายสัปดาห์ อยู่ที่การออกอากาศในคืนวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2548 เมื่อนายสนธิได้อ่านบทความเรื่อง ลูกแกะหลงทาง[ต้องการอ้างอิง] บทความซึ่งมีผู้โพสต์เข้าไปเข้าไปในเว็บไซต์ผู้จัดการ ออกอากาศทางโทรทัศน์ ส่งผลให้รายการเมืองไทยรายสัปดาห์ ถูกถอดออกจากผังรายการอย่างกะทันหัน โดยนายธงทอง จันทรางศุ บอร์ด อสมท. ให้เหตุผลว่าเป็นการจาบจ้วงสถาบัน

โดยกระทำเช่นนี้ ถูกมองว่าอาจเป็นการคุกคามสื่อ และเป็นการแอบอ้างสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นเครื่องมือในการปลดรายการว่าจาบจ้วงสถาบันฯ แม้ว่าผู้จัดรายการจะยืนยันว่าเนื้อความดังกล่าวเป็นการยกย่องสถาบันพระมหากษัตริย์ และพูดถึงบางคนที่ไม่ฟังคำเตือนที่ปรารถนาดีของกษัตริย์ว่าเป็นลูกแกะหลงทางเท่านั้น โดยมิได้ระบุถึงบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะ การปลดรายการดังกล่าวจึงเป็นการกระทำที่ไม่เป็นธรรม

รายการเมืองไทยรายสัปดาห์ จึงปรับรูปแบบเป็นรายการเมืองไทยรายสัปดาห์สัญจร จัดขึ้นนอกสถานที่ ทุกเย็นวันศุกร์ ที่หอประชุมศรีบูรพา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยมีการถ่ายทอดทางโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเอเอสทีวี และสื่ออื่น ๆ ในเครือผู้จัดการ ต่อมาเมื่อมีผู้ชมรายการมากขึ้นจึงขยับขยายมาจัดที่หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และย้ายไปจัดที่อาคารลีลาศ สวนลุมพินี

หลังรายการเมืองไทยรายสัปดาห์สัญจรครั้งที่ 14 ในคืนวันศุกร์ที่ 13 มกราคม 2549 มีการเปิดตัวผู้สนับสนุนคือ พลตำรวจเอกประทิน สันติประภพ นาวาอากาศตรีประสงค์ สุ่นศิริ รวมไปถึงสมาชิกวุฒิสภาและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรฝ่ายค้านหลายคน มีการเดินเท้าเคลื่อนย้ายผู้ชุมนุมจากสวนลุมพินีมาที่ทำเนียบรัฐบาล โดยไม่มีการปิดล้อม ก่อนสลายตัวกลับ แต่ยังมีผู้ชุมนุมบางส่วนยังชุมนุมต่อและถูกใช้กำลังสลายตัวในเช้าวันรุ่งขึ้น เหตุการณ์นี้เป็นเหตุให้รัฐบาลเริ่มเพ่งเล็งและมีมาตรการเด็ดขาดขึ้น

การชุมนุมครั้งใหญ่เกิดขึ้นเมื่อวันเสาร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ 2549 นัดชุมนุมที่สนามหลวง แต่สนามหลวงถูกจองใช้ จึงย้ายมาจัดที่บริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า ถนนราชดำเนินนอก จากด้านหน้าพระที่นั่งอนันตสมาคมถึงสี่แยกสวนมิสกวัน การชุมนุมครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่มีการชุมนุมยืดเยื้อข้ามคืน มีการถวายฎีกาแด่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผ่านทางพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ และสำนักราชเลขาธิการ โดยมี พล.ร.ท. พะจุณณ์ ตามประทีป เป็นตัวแทนรับ และยื่นหนังสือเรียกร้องให้ทหารแสดงจุดยืนต่อ พล.อ. สนธิ บุญยรัตกลิน ผู้บัญชาการทองทัพบก ในครั้งนี้มีการเปิดตัวกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เป็นแกนนำในการชุมนุมครั้งต่อ ๆ ไป นอกจากนี้การชุมนุมครั้งนี้ยังเป็นครั้งแรกที่ใช้ชื่อว่า "การชุมนุมกู้ชาติ" การชุมนุมครั้งนี้มีผู้มาชุมนุมมากกว่าทุกครั้งเนื่องจากความไม่พอใจในข่าวการขายหุ้นทั้งหมดในบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ของครอบครัวนายกรัฐมนตรีให้กับเทมาเส็ก โฮลดิ้งส์ กองทุนเพื่อการลงทุนของรัฐบาลสิงคโปร์โดยไม่ต้องเสียภาษีเนื่องจากเป็นการซื้อขายหุ้นผ่านตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งกฎหมายได้ระบุไว้ว่าให้ยกเว้นภาษี

การชุมนุมครั้งถัดมาจัดที่ลานพระบรมรูปทรงม้า เมื่อวันเสาร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ 2549 ใช้ชื่อว่า "ปิดบัญชีทักษิณ" มีผู้ร่วมชุมนุมหลากหลายขึ้นเนื่องจากเปลี่ยนผู้นำการชุมนุม พร้อมได้เปิดตัว พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เป็นครั้งแรก โดยมีแกนนำทั้งหมด 5 คน คือ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง นายสนธิ ลิ้มทองกุล นายพิภพ ธงไชย นายสมศักดิ์ โกศัยสุข และนายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ ในครั้งนี้รัฐบาลได้พยายามขัดขวางโดยให้เหตุผลว่ามีความไม่เหมาะสมและไม่สมควร เพราะสถานที่ที่นี้เป็นเขตพระราชฐาน จึงมีการนัดชุมนุมใหญ่ครั้งต่อไปที่สนามหลวงในวันอาทิตย์ที่ 26 กุมภาพันธ์ 2549 โดยจะเป็นการชุมนุมยืดเยื้อไม่มีกำหนด จนกว่านายกรัฐมนตรีจะลาออกจากตำแหน่ง

การชุมนุมที่สนามหลวงวันอาทิตย์ที่ 26 กุมภาพันธ์ 2549 ได้รับการสนับสนุนจากพล.ต. จำลอง ศรีเมือง ว่าจะนำเครือข่ายกองทัพธรรมและสันติอโศกเข้าร่วมชุมนุม ทางกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยจึงเชิญพลตรีจำลองร่วมเป็นหนึ่งในแกนนำด้วย การประกาศตัวของพลตรีจำลองเป็นสัญญาณว่าการชุมนุมนี้จะยืดเยื้อยาวนาน และสร้างความกังวลให้กับพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร จนประกาศยุบสภาในวันศุกร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ 2549 และได้มีการกำหนดเลือกตั้งในวันอาทิตย์ที่ 2 เมษายน 2549

มีการชุมนุมยืดเยื้อที่สนามหลวงใช้ชื่อว่า "เอาประเทศไทยของเราคืนมา" สลับกับการเคลื่อนขบวนใหญ่เพื่อกดดันสองครั้ง ในคืนวันอังคารที่ 28 กุมภาพันธ์ 2549 จากสนามหลวงมาที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย และเช้าวันอังคารที่ 14 มีนาคม 2549 จากสนามหลวงมาที่ทำเนียบรัฐบาลระหว่างมีการประชุมคณะรัฐมนตรี และย้ายการชุมนุมมาปักหลักบริเวณสี่แยกสะพานมัฆวานรังสรรค์สลับกับสี่แยกสวนมิสกวันและถนนพิษณุโลกช่วงข้างทำเนียบรัฐบาล ประมาณจำนวนผู้เข้าร่วมชุมนุมในครั้งนี้ฝ่ายรัฐบาลประเมินว่ามีผู้เข้าร่วมประมาณสองหมื่นคน ขณะที่ฝ่ายแกนนำผู้ชุมนุมได้ประเมินว่ามีผู้ร่วมชุมนุมราวหนึ่งแสนคน

มีการเคลื่อนขบวนย่อยไปชุมนุมที่สถานที่ต่าง ๆ เช่น สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครอง สถานทูตสิงคโปร์ ถนนสีลม การชุมนุมครั้งสำคัญสืบเนื่องจาก การเคลื่อนขบวนจากสนามกีฬาแห่งชาติ มาบริเวณสยามสแควร์และถนนสุขุมวิท ในวันอาทิตย์ที่ 26 มีนาคม 2549 จากนั้นแกนนำได้คิดที่จะจัดการชุมนุมใหญ่ ณ บริเวณหน้าศูนย์การค้าสยามพารากอน ในวันพุธที่ 29 มีนาคม 2549 การชุมนุมครั้งนี้ นับเป็นครั้งแรกของการชุมนุมทางการเมืองศูนย์ธุรกิจหลักประเทศ เพื่อต้องการล้มล้างรัฐบาลในขณะนั้น และเป็นการชุมนุมที่สร้างความเสียหายแก่ผู้ประกอบการ สยามพารากอน สยามเซ็นเตอร์ และสยามดิสคัฟเวอรี่เซ็นเตอร์ เป็นอย่างมาก เนื่องจากจำเป็นต้องปิดทำการระหว่าง 29-30 มีนาคมพ.ศ. 2549เพราะรัฐบาลให้เสรีภาพในการชุมนุมอย่างเสรีและไม่มีการปะทะกันใดๆ ทั้งสิ้น

หลังจากได้ผ่านพ้นการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2549 แล้ว กลุ่มผู้ที่ไม่ยอมรับในผลการลงคะแนนเสียงตามระบอบประชาธิปไตยและพยายามผลักดันให้ยกเลิกการเลือกตั้งครั้งนั้น ได้มีการร้องต่อศาลยุติธรรม ซึ่งต่อมาได้มีการตัดสินให้การเลือกตั้งวันที่ 2 เมษายนเป็นโมฆะ นับเป็นเหตุการณ์หนึ่งที่เป็นผลให้การเคลื่อนไหวต่อต้านนายกรัฐมนตรีรุนแรงมากขึ้น ระหว่างเดือนมิถุนายน 2549 กิจกรรมต่อต้านนายกรัฐมนตรีเบาบางลงชั่วคราว เนื่องจากเป็นช่วงเดือนที่มีงานเฉลิมฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี และในเดือนกรกฎาคม จึงมีการชุมนุม อภิปราย และสัมมนาขนาดย่อย ๆ อีกหลายครั้งโดยองค์การและสถาบันบางส่วนต่าง ๆ นายสนธิและนางสาวสโรชาได้กลับมาจัดการชุมนุมที่สวนลุมในอีกรูปแบบหนึ่งเรียกว่าเมืองไทยรายสัปดาห์สัญจร "คอนเสิร์ตการเมือง" ในระหว่างนั้นมีคดีที่นายถาวร เสนเนียม รองเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ เป็นโจทก์ยื่นฟ้องคณะกรรมการการเลือกตั้ง ในความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ความผิดต่อพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง ความผิดต่อพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา อันนำมาซึ่งคำพิพากษาให้คณะกรรมการการเลือกตั้งต้องโทษจำคุก และออกจากตำแหน่งไปเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม จนมีการสรรหาคณะกรรมการการเลือกตั้งใหม่ และคาดว่าจะมีการเลือกตั้งใหม่ได้ในวันที่ 15 ตุลาคม 2549

ในระหว่างที่ศาลได้มีคำตัดสินในกรณีคณะกรรมการการเลือกตั้งนั้นได้มีกลุ่มผู้สนับสนุนการเลือกตั้งหลายกลุ่มได้มาชุมนุมให้กำลังใจ จนเกิดกระทบกระทั่งกันกับกลุ่มฝ่ายตรงข้าม และต่อมาศาลได้มีคำพิพากษาให้ผู้ที่เป็นเหตุให้เกิดความวุ่นวายรับโทษในกรณีหมิ่นศาล ผู้ดำเนินรายการสถานีวิทยุและเว็บไซต์ที่มีการวิพากษ์วิจารณ์คำสั่งศาลได้ปิดตัวลง

ในวันเสาร์ที่ 19 สิงหาคม ระหว่างที่ พ.ต.ท.ทักษิณ เดินทางไปเปิดงานในฐานะประธานเปิดตัวหนังสือและซีดีที่ระลึก นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสการจัดงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปีที่ห้างสรรพสินค้าสยามพารากอน ได้มีเสียงประชาชนกลุ่มเล็ก ๆ จำนวนประมาณ 20 - 30 คน ได้ตะโกนเสียงดังขึ้นมาว่า "นายกฯ....คนเลว...ออกไป" จนในที่สุดเกิดเหตุการณ์ชุลมุนจากทั้งกลุ่มสนับสนุนและต่อต้านนายกรัฐมนตรี เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยจึงเชิญตัวให้ออกไปจากสถานที่,

หลังจากเหตุการณ์ที่สยามพารากอน ในวันอาทิตย์ที่ 20 สิงหาคม 2549 ได้มีการประชุมต่อเนื่องจากเหตุการณ์ทำร้ายกลุ่มผู้ต่อต้าน โดย ดร. สังศิต พิริยะรังสรรค์ แกนนำเครือข่ายประชาสังคม หยุดระบอบทักษิณ ร่วมกับสมาชิกเครือข่ายจำนวนหนึ่ง ได้จัดแถลงข่าว ที่อาคารสำนักวิทยบริการ ชั้น 8 มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม และได้ให้ประชาชน 6 คน ที่ถูกกลุ่มสนับสนุนนายกรัฐมนตรีทำร้าย ขณะเกิดเหตุการเปิดงานเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม ที่ห้างสรรพสินค้าสยามพารากอนมาแสดงตัว ขณะที่ประชุม ที่ลานข้างล่างหน้าอาคารได้มีกลุ่มผู้สนับสนับสนุนนายกรัฐมนตรีใช้ชื่อว่ากลุ่มตัวแทนองค์กรประชาชนรักความสงบ ราว 50-60 คนที่สนับสนุน พ.ต.ท.ทักษิณ ยืนถือป้ายผ้าและโปสเตอร์ด้วยความสงบเพื่อต่อต้าน ดร.สังศิต พิริยะรังสรรค์ และมีการปะทะคารมกัน

เหตุการณ์ยังคงไม่คลี่คลาย มาจนถึงวันที่ 21 สิงหาคม ได้เกิดเหตุในลักษณะเดียวกันอีกครั้ง ทั้งที่มีการวางกำลังตำรวจทั้งในและนอกเครื่องแบบอารักขานายกรัฐมนตรี ขณะไปเปิดงานอุทยานเรียนรู้ - ดิจิตอล ทีเคปาร์ค ที่ชั้น 8 เซ็นทรัลเวิลด์ เพราะเกรงว่าอาจถูกลอบสังหารตามที่ทางรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้รายงานมาก่อนหน้า หรือเกรงจะเกิดการปะทะซ้ำรอยเหตุการณ์ที่สยามพารากอน โดยได้มีการปะทะคารมกันของฝ่ายผู้สนับสนุนนายกรัฐมนตรีและฝ่ายต่อต้าน จนเป็นเหตุให้เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยและชายฉกรรจ์ในชุดสีเข้มไม่ทราบสังกัดทำร้ายร่างกาย เป็นชนวนให้เกิดการปะทะกันรุนแรงขึ้น ผลคือมีการบาดเจ็บกันหลายคน ทั้งกลุ่มผู้ที่ต่อต้านนายกรัฐมนตรีและกลุ่มที่สนับสนุน บางส่วนของผู้ต่อต้านนายกฯ ถูกดำเนินคดีในข้อหารบกวนความสงบเนื่องจากเป็นต้นเหตุการก่อให้เกิดเสียงเอะอะรำคาญ เหตุการณ์ทั้งสองถูกประณามว่านายกรัฐมนตรีและฝ่ายต่อต้านนายกรัฐมนตรีน่าจะต้องมีส่วนรับผิดชอบร่วมกันทั้งสองฝ่ายเพราะเป็นเหตุให้เกิดการทะเลาะวิวาท แต่ทั้งสองฝ่ายก็ไม่ได้แสดงความรับผิดชอบแต่อย่างใด

นอกจากการเคลื่อนไหวของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย นำโดยนายสนธิ ลิ้มทองกุล แล้ว ยังมีเหตุการณ์ต่อต้านนายทักษิณโดยกลุ่มต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง ในหลายพื้นที่ รวมทั้งการรวมตัวครั้งใหญ่ เมื่อวันเสาร์ที่ 2 กันยายน 2549 ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้มีกลุ่มที่ใช้ชื่อว่าเครือข่ายแพทย์ เภสัช พยาบาล อาจารย์มหาวิทยาลัย 43 องค์กร 11 มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นกลุ่มคนบางส่วนของหน่วยงานที่อ้างเหล่านั้น ทำการล่าชื่อ ปลุกกระแส ต้าน"ทักษิณ" ออกแถลงการณ์ให้ยุติบทบาทนายกรัฐมนตรีในทันที มีการเสวนาโต๊ะกลมเรื่องการร่วมกันแก้ไขวิกฤตปัญหาของบ้านเมือง เน้นการต่อต้านทักษิณตามแนวทางอหิงสาด้วยกิจกรรมต่าง ๆ รวมทั้งการถวายสัตย์ปฏิญญาในฐานะข้าราชการต่อพระบรมรูป 2 รัชกาลที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

การประท้วงขับทักษิณ ชินวัตร สิ้นสุดลง ในวันอังคารที่ 19 กันยายน 2549 หลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 ก่อนจะมีการชุมนุมอย่างยืดเยื้อของกลุ่มพันธมิตรฯและเครือข่าย โดยนายสนธิ ลิ้มทองกุล ประกาศยุติการชุมนุมทันที ทั้งที่ได้มีการนัดหมายกันในวันพุธที่ 20 กันยายน 2549 เวลา 15.00 น. ที่บริเวณลานพระรูป เนื่องจากมีการทำรัฐประหารเป็นที่เรียบร้อยแล้วและอาจจะเป็นการไม่ปลอดภัย

นายสนธิ ลิ้มทองกุล ร่วมกับพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้ร่วมสร้างและเผยแพร่ทฤษฎี "ปฏิญญาฟินแลนด์" และกล่าวหาว่า พ.ต.ท. ทักษิณ ได้สมคบคิดกับอดีตผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย เพื่อล้มล้างราชวงศ์จักรี ยึดอำนาจการปกครองราชอาณาจักรไทยและก่อตั้งรัฐคอมมิวนิสต์ อย่างไรก็ตามผู้ร่วมสร้างทฤษฎีไม่เคยแสดงหลักฐานแต่อย่างใดเพื่อพิสูจน์ว่าทฤษฎีสมคบคิดนี้มีจริง ส่วนตัว พ.ต.ท. ทักษิณ นั้นได้ปฏิเสธเรื่องนี้ ซึ่งเมื่อคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติหลังจากที่ปฏิวัติยึดอำนาจไว้ได้ ก็ไม่ได้ตรวจสอบหรือสอบสวนรายละเอียดของแผนฟินแลนด์แต่อย่างใด

การชุมนุมในแต่ละครั้งของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย มีกิจกรรมต่าง ๆ ที่เสริมบรรยากาศในการชุมนุม เช่น การแสดงดนตรี การแสดงงิ้วธรรมศาสตร์กู้ชาติ การละเล่นและบรรเลงเพลงพื้นบ้านภาคต่าง ๆ ละครศาลจำลอง การนำบุคคลต่าง ๆ และแขกรับเชิญนอกเหนือจากกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพือประชาธิปไตยมาสัมภาษณ์ รายการเสียงจากประชาชน (การพูดปราศรัยสั้น ๆ ของประชาชนโดยทั่วไปที่อาสาขึ้นเวที) กิจกรรมเกมส์ต่อต้านระบอบทักษิณ และกิจกรรมระดมทุน รับบริจาคและขายของที่ระลึก เป็นต้น ของที่ระลึกที่เป็นที่นิยมในการประชุม ได้แก่ ผ้าพันคอและผ้าโพกศีรษะสีเหลือง/ขาวที่สกรีนข้อความ "กู้ชาติ" ผ้าผูกข้อมือ เสื้อยืด เอกสารแผ่นพับ โปสเตอร์ แฮนด์บิลล์ ซีดีเพลง บันทึกรายการในแต่ละครั้ง และอื่น ๆ ที่ขึ้นอยู่กับความคิดสร้างสรรค์ของแต่ละกลุ่ม บทเพลงยอดนิยมที่ผู้แต่งเพลงนิรนามส่งมาให้กลุ่มผู้ชุมนุมใช้เปิด มีหลายบทเพลง เป็นบทเพลงที่บรรยายความไม่ชอบธรรมของระบอบทักษิณ และมีเนื้อหารุนแรง เพลงหนึ่งที่มีชื่อเสียงคือเพลง ไอ้หน้าเหลี่ยม[ต้องการอ้างอิง]

ครั้งหนึ่งของการเดินทางช่วยผู้สมัครของพรรคไทยรักไทยหาเสียงของรักษาการณ์นายกรัฐมนตรีในพื้นที่กรุงเทพมหานคร บริเวณซอยละลายทรัพย์ ถนนสีลม ได้มีปรากฏการณ์การต่อต้านทางสังคมเกิดขึ้น โดยมีกลุ่มแม่ค้าในพื้นที่ อาทิ เจ๊ไก่ ออกมาตะโกนขับไล่ พ.ต.ท. ทักษิณ และกลุ่มผู้ติดตาม ด้วยวลีที่ใช้ในกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย

กิจกรรมการต่อต้านระบอบทักษิณ ยังรวมไปถึงการรณรงค์เรื่องอหิงสาและอารยะขัดขืน และนำไปสู่รูปแบบการต่อต้านในภาคประชาชน ในการเลือกตั้งที่กลุ่มผู้ต่อต้านอ้างว่า "ไม่ชอบธรรม" เริ่มต้นจากการพยายามยับยั้งไม่ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในไทย พ.ศ. 2549 ต่อมาเป็นการให้ออกมาเลือกตั้งแต่กาในช่อง "ไม่ประสงค์จะลงคะแนนให้ใคร" การกาด้วยปากกาแดง เคลื่อนไหวจากปัจเจกชน เช่น การฉีกบัตรลงคะแนน ที่นำโดย รศ. ดร. ไชยันต์ ไชยพร ซึ่งนายแก้วสรร อติโพธิได้กล่าวว่าการฉีกบัตรลงคะแนนเป็นการกระทำที่ไม่ผิดกฎหมาย หรือการกรีดเลือดที่ปลายนิ้วเพื่อกาบัตรลงคะแนนโดยนายยศศักดิ์ โกศัยกานนท์ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต

ส่วนในกรณี นพ. เกรียงศักดิ์ หลิวจันทร์พัฒนา อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ แกนนำกลุ่มพันธมิตรกู้ชาติ กู้ประชาธิปไตย จังหวัดสงขลา และชาวบ้านอีก 6 คน ซึ่งเป็นผู้ต้องหาคดีกระทำความผิดฐานทำลายบัตรเลือกตั้งและทำให้เสียทรัพย์ กรณีฉีกบัตรเลือกตั้งเมื่อวันที่ 23 เมษายน 2549 ศาลได้พิจารณาคดีจนเสร็จสิ้นแล้ว และได้มีคำพิพากษายกฟ้อง โดยระบุว่าการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 2 เมษายน ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เช่นเดียวกับกรณีที่จังหวัดตรัง ซึ่งศาลได้มีคำพิพากษายกฟ้อง นายทศพร กาญจนะภมรพัฒน์ อดีตผู้สมัครนายกองค์การบริหารส่วนตำบลบางหมาก อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง เมื่อปี 2548 และหนึ่งในสมาชิกกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย จำเลยในคดีฉีกบัตรเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จำนวน 2 ใบ ทั้งในระบบเขต และระบบบัญชีรายชื่อ

ได้มีบางส่วนของกลุ่มคาราวานคนจนมาชุมนุมบริเวณด้านหน้าของสำนักงานหนังสือพิมพ์คมชัดลึก ในเครือเนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป เนื่องจากมีการตีพิมพ์ข่าวไม่เหมาะสม เกี่ยวกับการให้สัมภาษณ์ของนายสนธิ ลิ้มทองกุล ซึ่งหมิ่นเบื้องสูง โดยอ้างอิงถึงคลิปวิดีโอการให้สัมภาษณ์ จากการออกมาปฏิเสธของหนังสือพิมพ์คมชัดลึก จึงทำให้เหตุการณ์บานปลายออกไปจนถึงขั้นมีเหตุการณ์ชุลมุน และในเวลาต่อมาไม่นาน ได้มีกลุ่มขบวนรถมอเตอร์ไซด์หลายร้อยคันไปชุมนุมที่บ้านพระอาทิตย์ สำนักงานหนังสือพิมพ์ผู้จัดการในวันเดียวกัน แต่การชุลมุนก็จบลงอย่างรวดเร็วในระยะเวลาอันสั้นโดยไม่มีเหตุการณ์รุนแรงแต่อย่างใด

กลุ่มผู้ไม่เห็นด้วยกับการชุมนุม นำโดยกลุ่มคาราวานคนจนเพื่อประชาธิปไตย ที่เคลื่อนพลโดยรถอีแต๋นและเดินเท้ามาจากหลายจังหวัด โดยเฉพาะภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มาปักหลักที่บริเวณสวนจตุจักร โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อสนับสนุนให้มีการเลือกตั้งเป็นไปตามระบอบประชาธิปไตย ในวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2549 ซึ่งได้มีการสมทบกับ ร.ต.ฉลาด วรฉัตร นักเคลื่อนไหวที่มีชื่อเสียงเรื่องการอดอาหารประท้วงในครั้งนี้ด้วย ร.ต. ฉลาด วรฉัตร กล่าวว่าจะทำการแขวนคอตายหากไม่มีการเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายนเกิดขึ้น[ต้องการอ้างอิง]

กลุ่มผู้ชุมนุมกลุ่มนี้ และกลุ่มอื่น ๆ ที่สนับสนุนแนวทางการดำเนินการทางการเมือง ตามแนวทางประชาธิปไตย แบบที่ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ได้กระทำไป และเชื่อว่าการเลือกตั้งเป็นการแก้ปัญหาความขัดแย้งที่ดีที่สุด มีหลายกลุ่มเช่นกัน เช่น กลุ่มผู้มาให้กำลังใจมอบดอกกุหลาบแดงให้ในหลายวาระ รวมทั้งการรวมพลปราศรัยครั้งใหญ่ที่สนามหลวงในวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2549

สำหรับผู้ไม่เห็นด้วยกับการชุมนุมของกลุ่มต่าง ๆ เห็นพ้องว่า การที่มีการชุมนุมขนาดใหญ่ของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยซึ่งยาวนานต่อเนื่องกลางกรุงเทพมหานครนั้น เป็นการสร้างปัญหาขึ้นมากมาย เช่น ปัญหาจราจรทั้งยังส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของประเทศ ซึ่งเป็นเหตุให้เศรษฐกิจและการลงทุนจากต่างประเทศหยุดชะงักลง และเศรษฐกิจภายในประเทศหยุดการเติบโต ทั้งนี้เนื่องจากความไม่แน่นอนทางการเมืองและการขาดเสถียรภาพ


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เบอร์ลินตะวันออก ประเทศเยอรมนีตะวันออก ปฏิทินฮิบรู เจ้า โย่วถิง ดาบมังกรหยก สตรอเบอร์รี ไทยพาณิชย์ เคน ธีรเดช อุรัสยา เสปอร์บันด์ พรุ่งนี้ฉันจะรักคุณ ตะวันทอแสง รัก 7 ปี ดี 7 หน มอร์ มิวสิค วงทู อนึ่ง คิดถึงพอสังเขป รุ่น 2 เธอกับฉัน เป๊ปซี่ น้ำอัดลม แยม ผ้าอ้อม ชัชชัย สุขขาวดี ประชากรศาสตร์สิงคโปร์ โนโลโก้ นายแบบ จารุจินต์ นภีตะภัฏ ยัน ฟัน เดอร์ไฮเดิน พระเจ้าอาฟงซูที่ 6 แห่งโปรตุเกส บังทันบอยส์ เฟย์ ฟาง แก้ว ธนันต์ธรญ์ นีระสิงห์ เอ็มมี รอสซัม หยาง มี่ ศรัณยู วินัยพานิช เจนนิเฟอร์ ฮัดสัน เค็นอิชิ ซุซุมุระ พอล วอล์กเกอร์ แอนดรูว์ บิ๊กส์ ฮันส์ ซิมเมอร์ แบร์รี ไวต์ สตาญิสวัฟ แลม เดสมอนด์ เลเวลีน หลุยส์ที่ 4 แกรนด์ดยุคแห่งเฮสส์และไรน์ กีโยม เลอ ฌ็องตี ลอเรนโซที่ 2 เดอ เมดิชิ มาตราริกเตอร์ วงจรรวม แจ็ก คิลบี ซิมโฟนีหมายเลข 8 (มาห์เลอร์) เรอัลเบติส เฮนรี ฮัดสัน แคว้นอารากอง ตุ๊กกี้ ชิงร้อยชิงล้าน กันต์ กันตถาวร เอก ฮิมสกุล ปัญญา นิรันดร์กุล แฟนพันธุ์แท้ 2014 แฟนพันธุ์แท้ 2013 แฟนพันธุ์แท้ 2012 แฟนพันธุ์แท้ 2008 แฟนพันธุ์แท้ 2007 แฟนพันธุ์แท้ 2006 แฟนพันธุ์แท้ 2005 แฟนพันธุ์แท้ 2004 แฟนพันธุ์แท้ 2003 แฟนพันธุ์แท้ 2002 แฟนพันธุ์แท้ 2001 แฟนพันธุ์แท้ 2000 บัวชมพู ฟอร์ด ซาซ่า เดอะแบนด์ไทยแลนด์ แฟนพันธุ์แท้ปี 2015 แฟนพันธุ์แท้ปี 2014 แฟนพันธุ์แท้ปี 2013 แฟนพันธุ์แท้ปี 2012 ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ พรสวรรค์ บันดาลชีวิต บุปผาราตรี เฟส 2 โมเดิร์นไนน์ ทีวี บุปผาราตรี ไฟว์ไลฟ์ แฟนพันธุ์แท้ รางวัลนาฏราช นักจัดรายการวิทยุ สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 7 แบร์นาร์แห่งแกลร์โว กาอึน จิรายุทธ ผโลประการ อัลบาโร เนเกรโด ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ แอนดรูว์ การ์ฟิลด์ เอมี่ อดัมส์ ทรงยศ สุขมากอนันต์ ดอน คิง สมเด็จพระวันรัต (จ่าย ปุณฺณทตฺโต) สาธารณรัฐเอสโตเนีย สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย เน็ตไอดอล เอะโระเก คอสเพลย์ เอวีไอดอล ช็อคโกบอล มุกะอิ

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23301